มอเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร?
มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดย มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดย มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor) เป็นมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรง ตัวพลังงานจะได้รับจากแบตเตอรี่หรือเซลล์ มีการสร้างแรงดันไฟฟ้าคงที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนอิเล็กตรอนให้ไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้แม่นยำและต่อเนื่องเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการไฟฟ้าที่มีความแม่นยำ มั่นคง อาทิ การใช้งานด้านความเร็ว, ด้านแรงบิด เป็นต้น
- มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Motor) เป็นมอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับ ดังนั้นพลังงานที่ได้รับจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับกับสายไฟเพื่อเป็นการสร้างแรงดันไฟฟ้าให้เกิดความแตกต่างกัน เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าที่ต่างกันที่อิเล็กตรอนของกระแสสลับเปลี่ยนทิศทางต่อเนื่อง มีการเคลื่อนไปด้านหน้าแล้วถอยหลังพร้อมกันนี้แรงดันของกระแสสลับยังส่งผ่านได้ไกล ให้พลังงานมากจึงเหมาะกับการใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรมและในครัวเรือน
แม้จะได้ชื่อว่ามอเตอร์เหมือนกัน แต่การทำงานของ มอเตอร์ AC กับ มอเตอร์ DC มีหลักการทำงานแตกต่างอย่างชัดเจน รวมไปถึงข้อดีของทั้งสองประเภทนี้ก็มีหน้าที่หลักเพื่อให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานต่างกันออกไปด้วย โดยจะขอแยกความต่างของมอเตอร์สองแบบให้ได้เข้าใจกันง่าย ๆ ดังนี้
ข้อดีของมอเตอร์ AC
|
ข้อดีของ มอเตอร์ DC
|
นี่คือความต่างของมอเตอร์ทั้งสองประเภท ดังนั้นการเลือกใช้งานจึงต้องต่างกันไปด้วย ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องตามความเหมาะสมของประเภทงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า คือ การนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกลโดยการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นที่ขดลวดทองแดงในสเตเตอร์ (Stator) ทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำทุ่น (Rotor) ให้เกิดการหมุน แล้วจึงนำพลังงานที่เกิดจากการหมุนนั้นไปใช้งาน โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีรอบความเร็วการหมุนที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ประมาณ 3,000 รอบต่อนาที (2P) / 1,500 รอบต่อนาที (4P) / 1,000 รอบต่อนาที (6P)
โครงสร้าง (Frame) ของมอเตอร์ไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แบบเหล็กหล่อ เป็นแบบที่นิยมใช้โดยทั่วไป คุณสมบัติเด่นคือความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ระบายความร้อนได้ดี และทนทานต่อสารเคมีได้ดีกว่าโครงสร้างแบบอื่น
2. แบบอลูมิเนียม นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ระบายความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบากว่าและสวยงามกว่าแบบเหล็กหล่อ แต่มีราคาสูงกว่าแบบเหล็กหล่อและไม่สามารถทนต่อสารเคมีบางประเภทได้
3. แบบเหล็กม้วน เป็นแบบที่ไม่นิยมใช้มากนัก เนื่องจากมอเตอร์แบบเหล็กม้วนมักระบายความร้อนได้ไม่ดีนัก ตัวเสื้อไม่สวยงาม แต่มีความกะทัดรัด และมีราคาถูก
ลักษณะการประกอบใช้งาน
การประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของมอเตอร์ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
การนำไปใช้งาน
มอเตอร์ไฟฟ้า "NIESEI" สามารถรองรับงานได้หลากหลายประเภท นิยมไปใช้เป็นต้นกำลังขับ (Driver) ในการขับเคลื่อนชิ้นงานต่างๆ ให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊มน้ำ เครื่องอัดอากาศ หรือนำไปขับเฟืองเพื่อให้ลูกกลิ้งหมุน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น นำไปใช้กับอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ หรือใช้งานร่วมกับเกียร์ทดรอบเพื่อลดความเร็วการหมุนของมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้ตรงกับความต้องการของชิ้นงาน เป็นต้น
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า คือ การนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกลโดยการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นที่ขดลวดทองแดงในสเตเตอร์ (Stator) ทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำทุ่น (Rotor) ให้เกิดการหมุน แล้วจึงนำพลังงานที่เกิดจากการหมุนนั้นไปใช้งาน โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีรอบความเร็วการหมุนที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ประมาณ 3,000 รอบต่อนาที (2P) / 1,500 รอบต่อนาที (4P) / 1,000 รอบต่อนาที (6P)
โครงสร้าง (Frame) ของมอเตอร์ไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แบบเหล็กหล่อ เป็นแบบที่นิยมใช้โดยทั่วไป คุณสมบัติเด่นคือความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ระบายความร้อนได้ดี และทนทานต่อสารเคมีได้ดีกว่าโครงสร้างแบบอื่น
2. แบบอลูมิเนียม นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ระบายความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบากว่าและสวยงามกว่าแบบเหล็กหล่อ แต่มีราคาสูงกว่าแบบเหล็กหล่อและไม่สามารถทนต่อสารเคมีบางประเภทได้
3. แบบเหล็กม้วน เป็นแบบที่ไม่นิยมใช้มากนัก เนื่องจากมอเตอร์แบบเหล็กม้วนมักระบายความร้อนได้ไม่ดีนัก ตัวเสื้อไม่สวยงาม แต่มีความกะทัดรัด และมีราคาถูก
ลักษณะการประกอบใช้งาน
การประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของมอเตอร์ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
- มอเตอร์ไฟฟ้าแบบขาตั้ง เป็นการประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ากับชิ้นงานผ่านยอยหรือเฟือง
- มอเตอร์ไฟฟ้าแบบหน้าแปลน เป็นการประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าโดยสวมเข้ากับชิ้นงานโดยตรง
- มอเตอร์ไฟฟ้าแบบขาตั้งและหน้าแปลน เป็นการประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าโดยสวมเข้ากับชิ้นงานและมีฐานรองรับน้ำหนักของมอเตอร์
การนำไปใช้งาน
มอเตอร์ไฟฟ้า "NIESEI" สามารถรองรับงานได้หลากหลายประเภท นิยมไปใช้เป็นต้นกำลังขับ (Driver) ในการขับเคลื่อนชิ้นงานต่างๆ ให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊มน้ำ เครื่องอัดอากาศ หรือนำไปขับเฟืองเพื่อให้ลูกกลิ้งหมุน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น นำไปใช้กับอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ หรือใช้งานร่วมกับเกียร์ทดรอบเพื่อลดความเร็วการหมุนของมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้ตรงกับความต้องการของชิ้นงาน เป็นต้น
มาตรฐานต่างๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้า
ก่อนเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า ควรพิจารณาจากมาตรฐานต่างๆ ที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและระดับความประหยัดพลังงานของมอเตอร์นั้น ๆ โดยมาตรฐานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่สำคัญมี ดังนี้
IEC (International Electrotechnical Commission)
มาตรฐาน IEC เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้อย่างแพร่หลายใน 67 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยจะแบ่งค่าประสิทธิภาพออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ IE1 (Standard Efficiency), IE2 (High Efficiency), IE3 (Premium Efficiency) และ IE4 (Super Premium Efficiency) ส่วนพิกัดกำลังขาออกจะแสดงเป็นหน่วยกิโลวัตต์ (kW) |
NEMA (National Electrical Manufactures Association)
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก มักพบในมอเตอร์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งระดับประสิทธิภาพออกเป็น 3 ระดับ คือ EPAct, NEMA Premium และ NEMA Premium Plus ส่วนพิกัดกำลังขาออกจะแสดงเป็นหน่วยแรงม้า (HP) |
IP (Ingress Protection)
มาตรฐาน IP คือ มาตรฐานในการป้องกันฝุ่นและน้ำของมอเตอร์ซึ่งจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก โดยรูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX เช่น IP65, IP67, IP68 เป็นต้น โดยตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 และตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8 โดย IP ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ใช้งานกันจะอยู่ที่ IP54, IP55 |
Insulation Class Type
Insulation Class Type คือ ระดับฉนวนของมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ Class A, Class E, Class B, Class F และ Class H โดยค่าแต่ละระดับจะบ่งบอกถึงคุณสมบัติ วัสดุ และประสิทธิภาพของฉนวนกันความร้อนของมอเตอร์ไฟฟ้านั้น ๆ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายจะเป็น Class F |
มอเตอร์ไฟฟ้า "NIESEI" (INDUCTION MOTOR) 1 Phase 220V ALUMINIUM-อลูมิเนียม
- มอเตอร์ไฟฟ้า (INDUCTION MOTOR) ยี่ห้อ NIESEI-นิเซ่
- มอเตอร์ไฟฟ้ามีกำลังไฟ 1/4HP - 5.5HP [1Phase] 220V
- รอบการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้า 2800[2P] , 1400[4P]
- รูปแบบการติดตั้ง มอเตอร์ขาตั้ง Foot Mounted (B3) , มอเตอร์หน้าแปลน Flange Mounted (B5,B14)
มอเตอร์ไฟฟ้า "NIESEI" (INDUCTION MOTOR) 3 Phase 220V/380V - 380V/660V ALUMINIUM-อลูมิเนียม
- มอเตอร์ไฟฟ้า (INDUCTION MOTOR) ยี่ห้อ NIESEI-นิเซ่
- มอเตอร์ไฟฟ้ามีกำลังไฟ 1/4HP - 430HP [3Phase] 220/380V , 380/660V
- รอบการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้า 2800[2P] , 1400[4P] , 900[6P] , 700[8P]
- รูปแบบการติดตั้ง มอเตอร์ขาตั้ง Foot Mounted (B3) , มอเตอร์หน้าแปลน Flange Mounted (B5,B14) , มอเตอร์ขาตั้งหน้าแปลน Foot-Flange Mounted (B35,B34)
มอเตอร์ไฟฟ้า "NIESEI" (INDUCTION MOTOR) 3 Phase 220V/380V - 380V/660V CAST IRON-เหล็กหล่อ
- มอเตอร์ไฟฟ้า (INDUCTION MOTOR) ยี่ห้อ NIESEI-นิเซ่
- มอเตอร์ไฟฟ้ามีกำลังไฟ 1/4HP - 430HP [3Phase] 220/380V , 380/660V
- รอบการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้า 2800[2P] , 1400[4P] , 900[6P] , 700[8P]
- รูปแบบการติดตั้ง มอเตอร์ขาตั้ง Foot Mounted (B3) , มอเตอร์หน้าแปลน Flange Mounted (B5,B14) , มอเตอร์ขาตั้งหน้าแปลน Foot-Flange Mounted (B35,B34)
ส่วนประกอบมอเตอร์ไฟฟ้า (INDUCTION MOTOR) "NIESEI-นิเซ่"
ทั้งนี้ทาง บริษัท กรุงเทพเกียร์ รุ่งเรืองแมคคานิค จำกัด มี มอเตอร์ไฟฟ้า (Induction Motor) ให้เลือกหลากหลายรุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งาน อาทิ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า (Induction Motor) ยี่ห้อ NIESEI มอเตอร์ไฟฟ้ามีความแข็งแรง ทนทาน มีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 1/4HP ถึง 430HP ท่านสามารถคลิกที่ลิงก์ เพื่อดาวน์โหลด Catalogue ที่นี่